Health

  • กรดไหลย้อน มีอาการแบบไหน
    กรดไหลย้อน มีอาการแบบไหน

    กรดไหลย้อน มีอาการแบบไหน

    กรดไหลย้อน (Gastroesophageal Reflux Disease: GERD) เป็นภาวะที่น้ำย่อยในกระเพาะอาหารไหลย้อนขึ้นไปยังหลอดอาหาร ซึ่งเกิดจากกรดในกระเพาะอาหาร จนทำให้เกิดอาการที่รบกวนต่อการชีวิตประจำวัน และเกิดภาวะแทรกซ้อนขึ้นได้ เช่น การอักเสบของหลอดอาหาร โรคกรดไหลย้อนเป็นภัยเงียบที่ส่งผลเสียต่อร่างกาย โดยสาเหตุหลักๆ ของโรคนี้ก็มาจากพฤติกรรมการดำเนินชีวิตของเรานั่นเอง โดยจะทำให้มีอาการแสบร้อนบริเวณลิ้นปี่ ลามขึ้นมาบริเวณหน้าอกหรือลำคอ หลังจากทานอาหารมื้อหนัก และมีอาการเรอมีกลิ่นเปรี้ยว

    กรดไหลย้อน อาการและมีสาเหตุจากอะไรบ้าง ?

    อาการแสบร้อนบริเวณลิ้นปี่แล้วลามขึ้นมาที่หน้าอกหรือคอ ะเป็นมากขึ้นหลังรับประทานอาหารมื้อหนัก การโน้มตัวไปข้างหน้า การยก ของหนัก หรือการนอนหงาย ส่วนอาการอื่นๆ ที่อาจพบได้คือ กลืนลำบาก, กลืนแล้วเจ็บ, เรอบ่อย, ไอเรื้อรัง โดยเฉพาะอย่างยิ่งตอนกลางคืน, เสียงแหบเรื้อรัง เจ็บคอ และรู้สึก ระคายเคืองทางเดินหายใจ, เจ็บหน้าอกโดยที่ไม่มีปัญหาโรคหัวใจ นอกจากนี้ ยังพบว่า โรคกรดไหลย้อนอาจมีส่วนเกี่ยวข้องกับการเกิดโรคไซนัสอักเสบเรื้อรังและโรคหอบหืด

    โดยปกติผู้ป่วยที่มีอาการแสบหน้าอก และหรือเรอเปรี้ยว (ทั้งนี้ไม่ควรมีอาการ ที่บ่งบอกว่าน่าจะเป็นโรคอื่น อาทิ น้ำหนักลด อาเจียนเป็นเลือด ถ่ายเป็น เลือดหรือมีไข้) แพทย์สามารถวินิจฉัย ได้ว่าผู้ป่วยมีภาวะกรดไหลย้อนและให้ การรักษาเบื้องต้นได้เลย โดยจะติดตาม ดูอาการของผู้ป่วย ในบางรายอาจมี ความจำเป็นต้องได้รับการตรวจพิเศษ เช่น การส่องกล้องทางเดินอาหาร การกลืนแป้ง การตรวจวัดการบีบตัว ของหลอดอาหาร และการตรวจวัด ความเป็นกรดด่างในหลอดอาหาร ซึ่ง พบว่าได้ผลแม่นยำที่สุดในปัจจุบัน

    หากมีอาการดังต่อไปนี้ ถือเป็นสัญญาณเตือนของโรคกรดไหลย้อน

    • แสบร้อนบริเวณหน้าอก ซึ่งจะเป็นมากหลังรับประทานอาหารมื้อหนัก
    • มีอาการเรอเปรี้ยว มีน้ำรสเปรี้ยวหรือรสขมไหลย้อนขึ้นมาในปาก
    • ท้องอืด แน่นท้อง คล้ายอาหารไม่ย่อย
    • คลื่นไส้ อาเจียน หลังรับประทานอาหาร
    • เจ็บหน้าอก จุก คล้ายเหมือนมีก้อนติดอยู่ในลำคอ
    • หืดหอบ ไอแห้งๆ เสียงแหบ
    • เจ็บคอเรื้อรัง

    สาเหตุของโรคกรดไหลย้อน

    • หลอดอาหารส่วนปลายคลายตัวโดยที่ยังไม่กลืนอาหาร
    • ความดันจากหูรูดของหลอดอาหารส่วนปลายลดลงต่ำกว่าปกติ หรือเกิดการเลื่อนของกระเพาะอาหารเข้าไปในหลอดอาหาร
    • ความผิดปกติของการบีบตัวของกระเพาะอาหาร หรือหลอดอาหาร ทำให้อาหารค้างอยู่ในกระเพาะอาหารนานกว่าปกติ
    • เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย หรือเกี่ยวข้องกับพันธุกรรม
    • พฤติกรรมในการดำเนินชีวิต เช่น การรับประทานเสร็จแล้วนอนทันที การรับประทานของมันๆ มากเกินไป
    • ภาวะความเครียด  โดยผู้ที่มีความเครียดมักมีภาวะหลอดอาหารที่มีความไวเกินต่อสิ่งกระตุ้น หลอดอาหารอ่อนไหวต่อกรด เมื่อมีกรดไหลย้อนขึ้นมาแม้เพียงเล็กน้อย จะมีอาการแสดงทันที
    • ปัจจัยอื่นๆ เช่น โรคอ้วน การตั้งครรภ์ สูบบุหรี่ ดื่มแอลกอฮอล์ น้ำอัดลม การรับประทานยาบางชนิด เป็นต้น

    หนึ่งในสาเหตุของการเกิดโรคกรดไหลย้อน ก็คือ พฤติกรรม “รับประทานแล้วนอน” ซึ่งการนอนจะทำให้หูรูดมีการทำงานที่ไม่ดี เกิดอาการกรดไหลย้อนขึ้นไปได้ รวมไปถึงท่านอนราบยังทำให้กรดไหลย้อนขึ้นไปได้ง่ายกว่าปกติ นอกจากนี้แล้ว การรับประทานอาหารและนอนทันที ยังเป็นการเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคกรดไหลย้อนถึง 2 เท่า

    อย่างที่ทราบกันดีว่า โรคกรดไหลย้อน มักพบในผู้ที่ทำงานออฟฟิศ เนื่องมาจากพฤติกรรมการรับประทานอาหาร แต่ไม่เพียงเท่านั้น โรคกรดไหลย้อนสามารถพบได้ในทุกกลุ่มอายุ เป็นโรคใกล้ตัวที่ใครๆ ก็เป็นได้ โดยผู้ที่มีพฤติกรรมเหล่านี้ มีความเสี่ยงเป็นกรดไหลย้อน

    • รับประทานอาหารไม่เป็นเวลา รับประทานแล้วนอนทันที
    • ชอบรับประทานผลไม้ที่มีรสเปรี้ยวเป็นประจำ
    • ดื่มสุรา น้ำอัดลม
    • สูบบุหรี่
    • ผู้หญิงตั้งครรภ์
    • มีน้ำหนักเกินมาตรฐาน หรือโรคอ้วน
    • ผู้ป่วยโรคเบาหวาน
    • ผู้ป่วยโรคผิวหนังแข็ง
    • รับประทานยาบางชนิด เช่น ยาลดความดันโลหิตสูงบางชนิด ยาแก้โรคซึมเศร้า เป็นต้น

    กรดไหลย้อน

    ปรับพฤติกรรม รักษา“กรดไหลย้อน”

    โรคกรดไหลย้อนพบได้ตั้งแต่เด็กทารกไปจนถึงผู้ใหญ่ ซึ่งวิธีที่ดีที่สุดในการรักษาและป้องกันโรคนี้ก็คือ การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดำเนินชีวิต เพราะเป็นการรักษาที่ต้นเหตุ และช่วยบรรเทาอาการของผู้ป่วย ซึ่งสามารถทำได้ดังนี้

    • รับประทานอาหารปริมาณน้อยๆ แต่บ่อยครั้ง
    • ไม่ควรนอนทันทีหลังรับประทานอาหาร
    • หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ ดื่มสุรา
    • หลีกเลี่ยงอาหารรสจัด อาหารที่มีไขมันสูง
    • หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มชา กาแฟ น้ำอัดลม น้ำผลไม้
    • รับประทานอาหารมื้อเย็น ก่อนเข้านอนอย่างน้อย 3 ชั่วโมง
    • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
    • ไม่สวมใส่เสื้อผ้าที่รัดรูปมากเกินไป

    โรคกรดไหลย้อนหากปล่อยไว้ไม่ทำการรักษา จนกลายเป็นภาวะเรื้อรัง จะส่งผลให้เกิดแผลและรุนแรงจนหลอดอาหารตีบ และอาจร้ายแรงจนทำให้เกิดความเสี่ยงเป็นมะเร็งหลอดอาหารได้ เนื่องจากหลอดอาหารส่วนปลายมีการสัมผัสกับกรดมากเกินไป ดังนั้น เพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้โรคลุกลามและเรื้อรัง หากมีอาการดังกล่าว ควรรีบไปรับการตรวจวินิจฉัยและจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคระบบทางเดินอาหารและตับ เพื่อรับการรักษาอย่างถูกต้อง

    ป่วยเป็น “กรดไหลย้อน” ควรงดอาหารอะไรบ้าง

    กรดไหลย้อน เป็นโรคที่มักมีอาการเป็นๆ หายๆ หากผู้ป่วยยังคงมีพฤติกรรมการใช้ชีวิตแบบเดิม โดยเฉพาะอาหารการกินที่ส่งผลให้อาการกรดไหลย้อนเพิ่มสูงขึ้น ดังนั้น อาหารเหล่านี้คืออาหารที่ผู้ป่วยโรคกรดไหลย้อนควรหลีกเลี่ยง

    1. อาหารไขมันสูง

    ผู้ป่วยโรคกรดไหลย้อนควรงดอาหารไขมันสูง เช่น อาหารทอด ๆ อาหารมัน ช็อกโกแลต ฟาสต์ฟู้ด อาหารที่มีไขมันอิ่มตัวสูง เช่น กะทิ นม เนย ชีส ไอศกรีม หรือไขมันจากเนื้อสัตว์ เป็นต้น เนื่องจากไขมันจากอาหารเหล่านี้จะไปรวมกับกรดในกระเพาะอาหาร ทำให้เกิดอาการจุก แน่น หรือร้อนที่กลางอกได้

    2. อาหารที่มีแก๊สมาก

    ไม่ว่าจะเป็น น้ำอัดลม ชา กาแฟ โซดา เครื่องดื่มชูกำลัง อาหารที่มีรสเปรี้ยวจัด อาหารรสเผ็ดจัด หรือ ถั่ว เพราะอาหารกลุ่มนี้จะเข้าไปกระตุ้นให้มีการสร้างน้ำย่อยมากยิ่งขึ้น

    3. น้ำส้มสายชู

    น้ำส้มสายชูจัดเป็นเครื่องปรุงรสที่มีกรดมาก ดังนั้นผู้ป่วยโรคกรดไหลย้อนไม่ควรเติมน้ำส้มสายชูลงในอาหาร เพราะจะเป็นการเพิ่มกรดในกระเพาะอาหารมากขึ้นไปอีก

    4. เครื่องดื่มแอลกอฮอล์

    เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ไม่ว่าจะเป็นเบียร์ สุรา ไวน์ ค็อกเทล หรือเครื่องดื่มที่ผสมแอลกอฮอล์ทุกชนิด ผู้ป่วยกรดไหลย้อนควรเลี่ยง เพราะเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มีฤทธิ์กระตุ้นให้กล้ามเนื้อหูรูดของหลอดอาหารเปิดออก ทำให้กรดจากกระเพาะอาหารไหลย้อนกลับไปที่หลอดอาหารได้ง่ายขึ้น

    5. ผลไม้ที่มีกรดมาก

    ผลไม้ที่ผู้ป่วยกรดไหลย้อนห้ามกินหรือควรเลี่ยงไว้เป็นดี คือกลุ่มผลไม้ที่มีกรดมาก เช่น ส้ม องุ่น มะนาว มะเขือเทศ สับปะรด หรือน้ำผลไม้รสเปรี้ยวจัด รวมไปถึงซอสมะเขือเทศก็ควรเลี่ยงด้วยเช่นกัน

    6. ผักที่มีกรดแก๊สมาก

    อย่างเช่น หอมหัวใหญ่ดิบ กระเทียม พริก พริกไทย หอมแดง เปปเปอร์มินต์ หรือสะระแหน่ รวมทั้งผักดิบทุกชนิดก็ควรเลี่ยง เพราะผักเหล่านี้จะไปเพิ่มกรดแก๊สในกระเพาะอาหาร ทำให้เกิดอาการแสบร้อนกลางอก

    7. อาหารหมักดอง

    อาหารหมักดองอย่าง ปลาร้า หน่อไม้ดอง ผักกาดดอง ผลไม้ดอง ผลไม้แช่อิ่ม กิมจิ ซูชิบางชนิดที่มีผักดอง ล้วนมีส่วนเพิ่มแก๊สในกระเพาะอาหาร ก่อให้เกิดอาการจุดเสียดแน่นท้องได้

    8. อาหารเสริมที่มีไขมันสูง

    แม้แต่อาหารเสริมบางชนิดก็ควรหลีกเลี่ยง โดยเฉพาะอาหารเสริมจำพวกน้ำมันตับปลา สารสกัดจากกระเทียม วิตามินอี หรือวิตามินซีก็เสี่ยงเพิ่มกรดในกระเพาะได้เช่นกัน

    9. หมากฝรั่ง

    การเคี้ยวหมากฝรั่งเป็นการเพิ่มการหลั่งน้ำลาย ทำให้เราต้องกลืนน้ำลายลงท้องมากขึ้น เท่ากับว่าได้กลืนลมลงกระเพาะอาหารมากขึ้นด้วย ดังนั้นผู้ป่วยกรดไหลย้อนจึงไม่ควรเคี้ยวหมากฝรั่งบ่อยๆ

    การมีวินัย ใส่ใจในการปรับพฤติกรรมการใช้ชีวิตให้ถูกต้อง ไม่เพียงป้องกันโรคกรดไหลย้อนได้ แต่ยังลดโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคเรื้อรังและร้ายแรงอื่นๆ ได้อีกด้วย นอกจากการสังเกตอาการของตนเองแล้ว ผู้ป่วยโรคกรดไหลย้อนบางราย อาจมีอาการแสดงอื่นๆ ที่แตกต่างกันไป อาทิ เจ็บหน้าอก ไซนัสอักเสบ เป็นต้น ซึ่งแพทย์จะต้องตรวจซักประวัติและวินิจฉัยเพื่อหาสาเหตุที่แท้จริงของอาการ โดยวิธีการตรวจวินิจฉัยโรคกรดไหลย้อน เช่น การส่องกล้องตรวจหลอดอาหาร กระเพาะอาหาร และลำไส้เล็กส่วนต้น การเอกซเรย์กลืนสารทึบแสง การตรวจการบีบตัวของหลอดอาหาร การตรวจวัดความเป็นกรดด่างในหลอดอาหาร

    ที่มา

     

    ติดตามอ่านเรื่องเกี่ยวกับสุขภาพได้ที่  ilrsystems.com

    สนับสนุนโดย  ufabet369

Economy

  • ปรับโครงสร้างหนี้ แบบไหนที่เหมาะกับเรา
    ปรับโครงสร้างหนี้ แบบไหนที่เหมาะกับเรา

    ปรับโครงสร้างหนี้ เป็นการเปลี่ยนเงื่อนไขการจ่ายหนี้เพื่อให้เรายังสามารถจ่ายหนี้ได้โดยไม่ผิดนัดชำระ ซึ่งการผิดนัดชำระหนี้อาจทำให้ลูกหนี้ถูกคิดดอกเบี้ยผิดนัดชำระและมีประวัติค้างจ่ายในข้อมูลเครดิตบูโร เช่น ลดค่างวดโดยการขยายเวลาจ่ายหนี้ หรือเปลี่ยนเงื่อนไขการจ่ายหนี้เพื่อลดภาระดอกเบี้ย

    ทั้งนี้ การปรับโครงสร้างหนี้แต่ละวิธีมีผลแตกต่างกันต่อประวัติในเครดิตบูโร จึงขอให้สอบถามสถาบันการเงินในประเด็นนี้ด้วยก่อนตัดสินใจ

    การปรับโครงสร้างหนี้แต่ละแบบเหมาะกับสถานการณ์ทางการเงินที่แตกต่างกัน ถ้าอยากรู้ว่าเราเหมาะกับการปรับโครงสร้างหนี้แบบไหน ต้องถามตัวเองก่อนว่า…เรายังจ่ายหนี้ไหวแค่ไหนโดยมี 2 เรื่องที่ต้องคำนึงถึง คือ จำนวนเงินและระยะเวลา

    1. ปรับโครงสร้างหนี้ แบบยังจ่ายไหวแต่อยากลดภาระดอกเบี้ย

    ถ้ารายรับของเราไม่เปลี่ยนแปลงหรือลดลงเล็กน้อย แบบที่ยังจ่ายหนี้ไหวแต่อยากประหยัดรายจ่ายที่เป็นดอกเบี้ยลงบ้างเพื่อไปใช้จ่ายเรื่องที่จำเป็น เราอาจขอปรับโครงสร้างหนี้ ดังนี้

    1.1) เปลี่ยนประเภทหนี้ จากหนี้ที่มีอัตราดอกเบี้ยสูงเป็นหนี้ที่มีอัตราดอกเบี้ยต่ำลง เช่น หนี้บัตรเครดิต หากชำระไม่เต็มจำนวนและไม่ตรงเวลาจะถูกคิดดอกเบี้ย 16% ต่อปี อาจขอเปลี่ยนเป็นสินเชื่อแบบมีกำหนดระยะเวลาชำระ (term loan) ที่มีกำหนดเวลาจ่ายคืนที่ชัดเจนขึ้น และอัตราดอกเบี้ยที่ลดลง

    ข้อควรคิด การเปลี่ยนประเภทหนี้แบบนี้ เราต้องมั่นใจว่าเราสามารถจ่ายค่างวดคืนตามที่กำหนดได้ เช่น จากเดิมที่เราจ่ายบัตรเครดิตแค่ขั้นต่ำ (5 – 10%) การเปลี่ยนเป็นสินเชื่อแบบ term loan อาจทำให้เราต้องจ่ายหนี้แต่ละงวดมากกว่าหรือน้อยกว่าขั้นต่ำที่เราเคยจ่าย ขึ้นอยู่กับยอดหนี้ที่เราค้างจ่ายและระยะเวลาของสินเชื่อแบบ term loan

    1.2) รีไฟแนนซ์ (refinance) เป็นการเปลี่ยนเจ้าหนี้ ก็คือปิดหนี้จากเจ้าหนี้รายเดิมแล้วย้ายไปขอกู้กับเจ้าหนี้รายใหม่ที่ให้อัตราดอกเบี้ยที่ถูกกว่า ส่วนใหญ่มักจะรีไฟแนนซ์กับหนี้บ้าน แต่จริง ๆ แล้ว เราสามารถรีไฟแนนซ์กับหนี้อื่นได้ด้วย เช่น หนี้บัตรเครดิต หนี้บัตรกดเงินสด

    ข้อควรคิด การรีไฟแนนซ์อาจฟังแล้วดูดี แต่เราต้องคิดถึงค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นจากการเปลี่ยนเจ้าหนี้ด้วย เช่น ค่าจดจำนองหลักประกัน ค่าใช้จ่ายในการประเมินมูลค่าหลักประกัน ค่าทำประกันใหม่ ค่าปรับให้แก่เจ้าหนี้รายเดิมที่เราจ่ายคืนหนี้ทั้งจำนวนก่อนครบกำหนดเวลาที่ระบุในสัญญา ซึ่งต้องคำนวณให้ดีว่าคุ้มกับอัตราดอกเบี้ยที่ลดลงไหม

    1. ปรับโครงสร้างหนี้ แบบจ่ายไหวแค่บางส่วน

    ถ้ารายรับเราลดลงจนส่งผลให้จ่ายหนี้ได้ไม่เต็มจำนวนที่ถูกเรียกเก็บหรือจ่ายไม่ได้ตามสัญญา หรือเกิดเหตุอื่น ๆ ที่กระทบรายรับโดยรวมของครอบครัว เช่น มีคนในครอบครัวตกงาน จากที่เคยช่วยกันหาเงินเข้าบ้าน 2 แรงจึงเหลือเราคนเดียว ทำให้ต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายมากขึ้น เราอาจขอปรับโครงสร้างหนี้ที่เหมาะกับรายรับที่ลดลงในแต่ละแบบ ดังนี้

    2.1) ลดอัตราดอกเบี้ย เป็นการลดอัตราดอกเบี้ยสำหรับหนี้เดิมที่มีอยู่แล้ว ซึ่งจะทำให้ภาระหนี้ที่จะต้องจ่ายลดลงบางส่วน แต่ส่วนมากสถาบันการเงินมักลดอัตราดอกเบี้ยให้เพื่อให้ลูกหนี้มีเวลาปรับตัวในช่วงที่รายได้ลดกะทันหัน เช่น 3 เดือน หรือ 6 เดือน

    ข้อควรคิด หากได้รับการพิจารณาลดอัตราดอกเบี้ยเป็นระยะเวลาสั้น ๆ เหมาะกับผู้ที่มีรายได้ลดลงในช่วงระยะเวลาหนึ่งเท่านั้น หากรายรับลดเป็นระยะเวลานานควรพิจารณาทางเลือกอื่น

    2.2) พักชำระเงินต้น ก่อนอื่นเราต้องเข้าใจก่อนว่า การจ่ายคืนเงินกู้ในแต่ละงวดจะประกอบไปด้วยเงินต้นและดอกเบี้ย ดังนั้น “การพักชำระเงินต้น” ก็หมายความว่า เราไม่ต้องจ่ายเงินต้นแต่ยังต้องจ่ายดอกเบี้ย (จำนวนเงินต้นและดอกเบี้ยขึ้นอยู่กับยอดหนี้ทั้งหมด ประเภทหนี้ ระยะเวลากู้ยืม และอัตราดอกเบี้ย) ซึ่งส่วนใหญ่สถาบันการเงินมักให้พักชำระเงินต้นประมาณ 3 – 6 เดือน วิธีนี้จึงเหมาะกับคนที่รายรับลดลงเพียงไม่นานและจะกลับมาชำระหนี้ตามเดิมได้

    ข้อควรคิด การพักชำระเงินต้นอาจทำให้ภาระหนี้ช่วงหลังจากพักชำระเพิ่มขึ้น หรืออาจต้องขยายเวลาการชำระหนี้ เนื่องจากต้องนำเงินต้นที่พักชำระไปจ่ายในช่วงหลังการพักชำระเงินต้น นอกจากนี้ ยังอาจจะมีภาระดอกเบี้ยที่เพิ่มขึ้นเนื่องจากยอดเงินต้นไม่ได้ลดลงตามกำหนดเวลาเดิม ดังนั้น เราจะต้องตกลงกับสถาบันการเงินให้ดีว่า หลังพักชำระเงินต้นแล้วจะต้องจ่ายคืนแบบไหน ที่สำคัญคือเราจ่ายไหวไหม เช่น สถาบันการเงินอาจให้ขยายเวลาการชำระหนี้ เฉลี่ยผ่อนชำระตามงวดที่เหลือ หรือชำระคืนเงินต้นที่พักชำระทั้งหมดคราวเดียวในงวดสุดท้าย (รายละเอียดตามภาพ) และอาจต้องทำสัญญาใหม่หรือทำเอกสารบันทึกแนบท้ายสัญญาเดิมแล้วแต่กรณี

    หากคิดดูแล้วว่าเราจ่ายไม่ไหวตามที่สถาบันการเงินเสนอมา ควรขอให้สถาบันการเงินพิจารณาวิธีจ่ายคืนในแบบอื่น เช่น หากสถาบันการเงินให้จ่ายทั้งหมดครั้งเดียว (กรณี 3) แต่เราคิดแล้วว่าเราไม่น่าจะหาเงินก้อนมาจ่ายได้ในเวลาที่สถาบันการเงินแจ้งมา อาจขอจ่ายเป็นแบบเฉลี่ยผ่อนชำระตามงวดที่เหลือ (กรณี 2) แทน

    2.3) ขยายเวลาชำระหนี้ เป็นการเพิ่มระยะเวลาในการจ่ายหนี้ วิธีนี้จะทำให้เราเป็นหนี้นานขึ้น แต่จำนวนผ่อนต่อเดือนจะลดลง ซึ่งเราสามารถขอขยายเวลาชำระหนี้ได้เป็นปี เช่น บางรายขอเพิ่มได้ 5 ปี (ขึ้นอยู่กับยอดหนี้ ประเภทหนี้ รวมถึงฐานะการเงินของลูกหนี้)

    ข้อควรคิด การขยายเวลาชำระหนี้เป็นการขยายเวลายืมเงิน ยิ่งยืมเงินนาน เรายิ่งต้องจ่ายดอกเบี้ยเพิ่มขึ้น ดังนั้น หากไม่จำเป็นก็ไม่ควรขยายเวลานานเกินไป เพราะการผ่อนน้อย ๆ แต่ผ่อนนาน ๆ จะทำให้เราต้องจ่ายดอกเบี้ยมากขึ้น

    นอกจากนี้ สถาบันการเงินอาจต้องดูอายุของลูกหนี้เพื่อพิจารณาการขยายเวลาชำระหนี้ด้วย เพราะจะบอกถึงความสามารถในการจ่ายหนี้คืน เช่น ลูกหนี้ที่ใกล้เกษียณอาจขอขยายเวลาได้ไม่นานเท่าลูกหนี้ที่เพิ่งเริ่มทำงาน (มีความเสี่ยงที่ลูกหนี้จะไม่มีรายรับเพื่อจ่ายหนี้หลังเกษียณ)

    ปรับโครงสร้างหนี้ 1

    1. มีเงินก้อนแต่ไม่พอปิดหนี้ทั้งหมด

    สำหรับคนที่มีหนี้เสียเรื้อรัง แต่มีเงินก้อน เช่น จากการขายสินทรัพย์ หรือเงินชดเชยจากการออกจากงาน อยากปิดหนี้แต่จำนวนเงินที่มีนั้นไม่พอที่จะจ่ายหนี้ทั้งก้อนได้ ก็อาจขอปรับโครงสร้างหนี้โดยการปิดจบด้วยเงินก้อนที่น้อยกว่าหนี้ทั้งก้อนได้

    การปิดจบด้วยเงินก้อน หรือที่หลายคนอาจเรียกว่า แฮร์คัต (hair cut) เป็นการปรับโครงสร้างหนี้โดยการขอส่วนลดจากเจ้าหนี้แล้วจ่ายทั้งหมดเพื่อปิดบัญชีทันที เช่น มียอดหนี้คงค้าง 120,000 บาท ขอลดเหลือ 100,000 บาทแล้วจ่ายเพื่อปิดบัญชีทันที หากตกลงกันได้ด้วยวิธีแบบนี้ก็จะทำให้เราหมดหนี้ไปเลย

    ข้อควรคิด การปิดจบด้วยเงินก้อนแบบนี้ สถาบันการเงินมักมีเงื่อนไขให้จ่ายให้ครบภายในเวลาที่กำหนด ซึ่งมักจะเป็นช่วงเวลาสั้น ๆ เช่น 1 – 6 งวด หากไม่มั่นใจว่าจะจ่ายได้ทั้งหมดภายในระยะเวลาที่กำหนด ไม่ควรลงนามในสัญญาเพราะอาจทำให้ต้องขอปรับโครงสร้างอีกครั้ง แต่ให้ขอสถาบันการเงินพิจารณาทางเลือกในการช่วยเหลืออื่นแทน

    1. จ่ายไม่ไหวเลย

    สำหรับคนที่ไม่มีเงินจ่ายหนี้ หรือคนที่ต้องออกจากงานกะทันหัน เงินที่มีอาจจะไม่พอที่จะจ่ายหนี้เลย จึงอาจขอปรับโครงสร้างหนี้โดยการพักชำระเงินต้นและดอกเบี้ยในช่วงเวลาหนึ่ง เพื่อให้ปรับตัวกับปัญหาทางการเงินที่กำลังเผชิญอยู่หรือหางานหาอาชีพใหม่ได้ แล้วค่อยกลับมาจ่ายหนี้ตามเดิม

    “การพักชำระเงินต้นและดอกเบี้ย” เป็นการหยุดจ่ายทั้งเงินต้นและดอกเบี้ยเป็นระยะเวลาหนึ่ง เช่น 3 เดือน หรือ 6 เดือน เมื่อครบกำหนดพักชำระแล้ว จะต้องจ่ายคืนทั้งเงินต้นและดอกเบี้ยในช่วงที่พักไปด้วย (ดอกเบี้ยยังคงเดินอยู่ตลอดเวลาที่พักชำระ) ซึ่งอาจเป็นการขยายเวลาการชำระหนี้ เฉลี่ยผ่อนชำระตามงวดที่เหลือ หรือชำระคืนเงินต้นที่พักชำระทั้งหมดคราวเดียวในงวดสุดท้าย (รายละเอียดตามภาพ) ซึ่งเราควรเจรจากับเจ้าหนี้ตามความสามารถในการจ่ายคืนของเรา

    ข้อควรคิด

    การพักชำระเงินต้นและดอกเบี้ยมักเป็นการพักชำระในระยะเวลาสั้น ๆ เช่น 3 – 6 เดือน ในช่วงเวลานี้ เราควรพยายามหางานหรืออาชีพใหม่เพื่อให้มีเงินมาใช้จ่าย ชำระหนี้ และกลับเข้าสู่การใช้ชีวิตตามปกติ แต่หากใกล้ครบกำหนดพักชำระและรายรับที่มียังไม่พอจ่ายหนี้ ให้เจรจาเพื่อขอความช่วยเหลืออื่นจากสถาบันการเงินอีกครั้ง เช่น ขอจ่ายเป็นขั้นบันได โดยจ่ายน้อยในช่วงแรกแล้วค่อยเขยิบขึ้นตามรายรับที่น่าจะเข้ามาในอนาคต หรือสำรวจหาทรัพย์สินที่พอจะขายได้มาช่วยชำระหนี้บางส่วน เพราะสถาบันการเงินอาจไม่สามารถให้ความช่วยเหลือลูกหนี้ด้วยการพักชำระทั้งเงินต้นและดอกเบี้ยเป็นเวลานาน อย่ารอหรือเงียบหายจนค้างจ่ายหรือเป็นหนี้เสีย (ค้างชำระเกิน 90 วัน) เพราะจะยิ่งทำให้มีโอกาสที่จะได้รับความช่วยเหลืออีกครั้งน้อยลงไปอีก


    ข่าวอื่นๆที่เกี่ยวข้อง
    ระบบภูมิคุ้มกัน ของร่างกายมนุษย์
    ขยายเวลามาตรการภาษีจูงใจต่างชาติย้ายฐานผลิต
    Spotify เพลย์ลิสต์ในขวด: วิธีสร้างแคปซูลเวลาดนตรีปี 2024
    เซ็นทรัลพัฒนาลงทุน 3,500 ล้านบาทเปิดเซ็นทรัล จันทบุรี
    ติดตามข่าวอื่นๆได้ที่ https://www.ilrsystems.com/
    สนับสนุนโดย  ufabet369
    ที่มา www.bbc.com